ประวัติของก๋วยเตี๋ยวผัดไทย
“ผัดไทย”
หรือเรียกให้เต็มยศก็คือ “ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย” เป็นอาหารขึ้นชื่อลือชาอีกเมนูหนึ่งของประเทศเรา และมีบ้างที่รู้สึกภาคภูมิใจว่านี่เป็นอีกหนึ่งเมนูประจำชาติ ที่สามารถส่งออกทำรายได้และชื่อเสียงให้กับประเทศไทย
หนึ่งอาจเป็นด้วยมันชื่อ “ผัดไทย” ดังนั้นเมื่อทานย่อมรู้สึกถึงความเป็นไทย (??) แต่ก็ดังที่เราท่านทราบดีอยู่แล้ว อาหารประเภทเส้น ไม่ใช่อาหารเดิมแท้ของไทย ! อาหารที่ใช้น้ำมันผัดในกระทะ ก็เป็นรูปแบบการปรุงอาหารของจีน… ดังนั้นผัดไทยย่อมไม่ใช่อาหารไทยแท้ !? หรือไม่ ?? ผมขอบอกว่า “เป็นอาหารไทย” และ… เป็นอาหารไทยที่เป็นไทยมากๆ มากจนถึงขั้นระดับชาตินิยมเลยทีเดียว ! เพราะอะไรน่ะหรือครับ ก็เพราะชื่อไงครับ “ผัดไทย” ! (ฮ่าๆ)
อย่าพึ่งว่าผมตอบแบบศรีธนญชัย หรือกวนอวัยวะนะครับ แต่ชื่อนี้มีความหมายจริงๆ ต้องไปดูที่มาของคำว่า “ไทย” กันเสียก่อน จึงจะทราบถึงที่มาของอาหารจานนี้ได้… “ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย” ย่อมเกิดหลังจากประเทศของเรามีนามว่า “ไทย” แล้ว มันจึงชื่อว่า “ผัดไทย” ไม่ใช่ “ผัดสยาม” ดังนั้น… อาหารจานนี้ควรเกิดขึ้นหลังการขึ้นเป็นผู้นำประเทศของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งในยุคของผู้นำท่านนี้ได้มีมติเปลี่ยนชื่อประเทศของเราจาก “สยาม” เป็น “ไทย” เมื่อ วันที่ 24 มิถุนายน 2482
ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทย มีพันธะที่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับประเทศอังกฤษ หนึ่งรายการในนั้นเป็นข้าว จำนวนถึง 1.5 ล้านตัน การต้องผลิตข้าวส่งอังกฤษในครั้งนี้ จึงเกิดเศษข้าวหักปริมาณมหาศาล ข้าวส่วนนี้นี่เองที่นำมาผลิตเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว กอปรกับ จอมพล ป.ต้องการสร้างเอกลักษณ์แห่งความเป็นชาติไทยเพื่อรวมใจคนในชาติ เส้นก๋วยเตี๋ยวในครั้งกระนั้นจึงถูกนำมาเป็นวัตถุดิบในรายการอาหารชนิดหนึ่งชื่อว่า “ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย”
และ จอมพล ป.เคยกล่าวปราศรัยปลุกใจให้คนไทยหันมาบริโภคก๋วยเตี๋ยว อีกด้วยมีความว่า
“อยากให้พี่น้องกินก๋วยเตี๋ยวให้ทั่วกัน เพราะก๋วยเตี๋ยว มีประโยชน์ต่อ ร่างกาย มีรสเปรี้ยว เค็ม หวานพร้อม ทำเองได้ในประเทศไทย หาได้สะดวกและอร่อยด้วย หากพี่น้องชาวไทยกินก๋วยเตี๋ยวคนละ หนึ่งชามทุกวัน วันหนึ่งจะมีคนกินก๋วยเตี๋ยวสิบแปดล้านชาม ตกลงวันหนึ่งค่าก๋วยเตี๋ยวของชาติไทยหนึ่งวันเท่ากับเก้าสิบล้านสตางค์เท่า กับเก้าแสนบาท เป็นจำนวนเงินหมุนเวียนมากพอใช้ เงินเก้าแสนบาทนั้น ก็จะไหลไปสู่ชาวไร่ ชาวนา ชาวทะเลทั่วกันไม่ตกไปอยู่ในมือใครคนหนึ่งคนใดเพียงคนเดียว และเงินหนึ่งบาทก็มีราคาหนึ่งบาท ซื้อก๋วยเตี๋ยวได้เสมอ ไม่ใช่ซื้ออะไรก็ไม่ได้เหมือนอย่างทุกวันนี้ซึ่งเท่ากับไม่มีประโยชน์เต็ม ที่ในค่าของเงิน”
รวมถึงได้มีคำสั่งของท่านผู้นำให้กรมประชาสัมพันธ์ (ตอนนั้นชื่อว่า “กรมโฆษณาการ”) ทำตำราปรุง “ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย” ออกแจกแก่ประชาชนด้วย… ดังนั้น “ผัดไทย” จึงเป็นอาหารไทยแท้ และเป็นอาหารในยุค “ชาตินิยม” อีกด้วยครับ
หนึ่งอาจเป็นด้วยมันชื่อ “ผัดไทย” ดังนั้นเมื่อทานย่อมรู้สึกถึงความเป็นไทย (??) แต่ก็ดังที่เราท่านทราบดีอยู่แล้ว อาหารประเภทเส้น ไม่ใช่อาหารเดิมแท้ของไทย ! อาหารที่ใช้น้ำมันผัดในกระทะ ก็เป็นรูปแบบการปรุงอาหารของจีน… ดังนั้นผัดไทยย่อมไม่ใช่อาหารไทยแท้ !? หรือไม่ ?? ผมขอบอกว่า “เป็นอาหารไทย” และ… เป็นอาหารไทยที่เป็นไทยมากๆ มากจนถึงขั้นระดับชาตินิยมเลยทีเดียว ! เพราะอะไรน่ะหรือครับ ก็เพราะชื่อไงครับ “ผัดไทย” ! (ฮ่าๆ)
อย่าพึ่งว่าผมตอบแบบศรีธนญชัย หรือกวนอวัยวะนะครับ แต่ชื่อนี้มีความหมายจริงๆ ต้องไปดูที่มาของคำว่า “ไทย” กันเสียก่อน จึงจะทราบถึงที่มาของอาหารจานนี้ได้… “ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย” ย่อมเกิดหลังจากประเทศของเรามีนามว่า “ไทย” แล้ว มันจึงชื่อว่า “ผัดไทย” ไม่ใช่ “ผัดสยาม” ดังนั้น… อาหารจานนี้ควรเกิดขึ้นหลังการขึ้นเป็นผู้นำประเทศของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งในยุคของผู้นำท่านนี้ได้มีมติเปลี่ยนชื่อประเทศของเราจาก “สยาม” เป็น “ไทย” เมื่อ วันที่ 24 มิถุนายน 2482
ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทย มีพันธะที่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับประเทศอังกฤษ หนึ่งรายการในนั้นเป็นข้าว จำนวนถึง 1.5 ล้านตัน การต้องผลิตข้าวส่งอังกฤษในครั้งนี้ จึงเกิดเศษข้าวหักปริมาณมหาศาล ข้าวส่วนนี้นี่เองที่นำมาผลิตเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว กอปรกับ จอมพล ป.ต้องการสร้างเอกลักษณ์แห่งความเป็นชาติไทยเพื่อรวมใจคนในชาติ เส้นก๋วยเตี๋ยวในครั้งกระนั้นจึงถูกนำมาเป็นวัตถุดิบในรายการอาหารชนิดหนึ่งชื่อว่า “ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย”
และ จอมพล ป.เคยกล่าวปราศรัยปลุกใจให้คนไทยหันมาบริโภคก๋วยเตี๋ยว อีกด้วยมีความว่า
“อยากให้พี่น้องกินก๋วยเตี๋ยวให้ทั่วกัน เพราะก๋วยเตี๋ยว มีประโยชน์ต่อ ร่างกาย มีรสเปรี้ยว เค็ม หวานพร้อม ทำเองได้ในประเทศไทย หาได้สะดวกและอร่อยด้วย หากพี่น้องชาวไทยกินก๋วยเตี๋ยวคนละ หนึ่งชามทุกวัน วันหนึ่งจะมีคนกินก๋วยเตี๋ยวสิบแปดล้านชาม ตกลงวันหนึ่งค่าก๋วยเตี๋ยวของชาติไทยหนึ่งวันเท่ากับเก้าสิบล้านสตางค์เท่า กับเก้าแสนบาท เป็นจำนวนเงินหมุนเวียนมากพอใช้ เงินเก้าแสนบาทนั้น ก็จะไหลไปสู่ชาวไร่ ชาวนา ชาวทะเลทั่วกันไม่ตกไปอยู่ในมือใครคนหนึ่งคนใดเพียงคนเดียว และเงินหนึ่งบาทก็มีราคาหนึ่งบาท ซื้อก๋วยเตี๋ยวได้เสมอ ไม่ใช่ซื้ออะไรก็ไม่ได้เหมือนอย่างทุกวันนี้ซึ่งเท่ากับไม่มีประโยชน์เต็ม ที่ในค่าของเงิน”
รวมถึงได้มีคำสั่งของท่านผู้นำให้กรมประชาสัมพันธ์ (ตอนนั้นชื่อว่า “กรมโฆษณาการ”) ทำตำราปรุง “ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย” ออกแจกแก่ประชาชนด้วย… ดังนั้น “ผัดไทย” จึงเป็นอาหารไทยแท้ และเป็นอาหารในยุค “ชาตินิยม” อีกด้วยครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น